Mobil Super™ Friction Fighter 10W-40

Reference : P23-0482

น้ำมันเครื่องเทคโนโลยีสังเคราะห์ สำหรับรถยนต์ญี่ปุ่นและเกาหลี รวมถึง Toyota, Honda, Nissan, Daihatsu, Suzuki, Mitsubishi, Hyundai และอีกมากมาย
• เพิ่มการปกป้องการสึกหรอของเครื่องยนต์สูงสุดถึง 65%*
• สูตรต้านแรงเสียดทาน Friction Fighter
• เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรมล่าสุด

ราคา บาท ค่าจัดส่ง บาท



ลักษณะสำคัญและคุณประโยชน์
• เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินสัญชาติญี่ปุ่นและเกาหลีส่วนใหญ่
• เทคโนโลยี Friction Fighter Molecule กรรมสิทธิ์เฉพาะ
• ปกป้องการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้ดีขึ้น
• ดูแลความสะอาดของเครื่องยนต์ได้อย่างดีเยี่ยม
• ปกป้องการทำงานของเครื่องยนต์ได้ดีเยี่ยมที่ช่วงอุณหภูมิสูง
• เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องยนต์โดยลดปัญหาการจุดระเบิดผิดเวลาที่ช่วงความเร็วต่ำ (LSPI)


การใช้งาน
Mobil Super 2000™ Friction Fighter ได้รับการผสมสูตรเพื่อให้คุณมั่นใจได้กับการปกป้องที่เหนือกว่าน้ำมันเกรดทั่วไป แนะนำเป็นพิเศษสำหรับรถประเภทต่อไปนี้ที่ต้องทำงานในสภาวะต่อไปนี้

• การใช้งานในเมืองที่ต้องหยุดรถเป็นพัก ๆ
• เทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุด
• รถยนต์โดยสารส่วนบุคคลระบบเบนซิน
• การขับขี่เป็นระยะทางยาวบนทางหลวง
• การใช้งานปกติจนถึงหนักหน่วง
• เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ
• เครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูง


ข้อกำหนดและการรับรอง
 ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการแนะนำสำหรับการใช้งานที่ต้องการ :
API CF


ผลิตภัณฑ์นี้ผ่านหรือเกินกว่าข้อกำหนดของ :
API SL
API SM
API SN
API SN PLUS
API SP


คุณสมบัติและคุณลักษณะที่กำหนด
คุณสมบัติ
เกรด SAE 10W-40
จุดไหลเท, ฐC, ASTM D97-33
จุดวาบไฟ, Cleveland Open Cup, ฐC, ASTM D92221
เถ้า, ซัลเฟต, % โดยมวล, ASTM D8740.8
Mini-Rotary Viscometer, Apparent Viscosity, -30 C, mPa.s, ASTM D468420600
Hi-Temp Hi-Shear Viscosity @ 150 C 1x10(6) sec(-1), mPa.s, ASTM D46833.6
ความหนืดไคนีมาติก @ 40 C, mm2/s, ASTM D4454.5
Mini-Rotary Viscometer, Apparent Viscosity, -20 C, mPa.s, ASTM D468491
ความหนืดไคนีมาติก @ 100 C, mm2/s, ASTM D44513
ความหนาแน่น @ 15.6 C, g/ml, ASTM D40520.868
ค่าความเป็นด่าง, mgKOH/g, ASTM D28967.5
ดัชนีความหนืด, ASTM D2270142


ข้อมูลด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย
ดูคำแนะนำด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยจากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยการใช้สารเคมี (MSDS) ที่
http://www.msds.exxonmobil.com/psims/psims.aspx
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่อง เป็นสารที่ช่วยเพิ่มความหล่อลื่นให้กับชิ้นส่วนของรถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้รถยนต์ของคุณยังสามารถใช้งานต่อเนื่องในระยะยาวได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ขับขี่จึงจำเป็นต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามเวลาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความชำรุด เสียหายของตัวเครื่องยนต์หรือปัญหาที่ตามมาของน้ำมันเครื่องที่หมดอายุรวมไปถึงความผลพวงจากความเสื่อมสภาพของน้ำมัน


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
• แม่แรงยกรถ และขาตั้งรถ
• ประแจหัวกลม
• ประแจสำหรับไขที่กรองน้ำมัน
• ถุงมือยาง
• ผ้าเช็ดมือ
• ภาชนะรองน้ำมันเก่า
• กรวยพลาสติก
• ตัวกรองน้ำมันเครื่องอันใหม่
• น้ำมันเครื่องใหม่ โดยควรเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับรถยนต์ของตนเอง


ขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วยตัวเอง
• เตรียมรถให้พร้อม ด้วยการนำรถยนต์มาจอดบนพื้นราบ หรือลานกว้าง จากนั้นดับเครื่องและใส่เบรกมือ
• หลังจากปล่อยให้เครื่องยนต์เย็นลงสักพักประมาณ 10 นาที ใช้แม่แรงยกรถขึ้น และวางขาตั้งเพื่อรองรับน้ำหนักรถ
• วางภาชนะรองน้ำมันเครื่องไว้ใต้อ่างน้ำมันเครื่องที่อยู่ใกล้กับท่อไอเสีย
• ใช้ประแจหัวกลมหมุนน็อตเกลียวของอ่างน้ำมันเครื่องเพื่อถ่ายน้ำมันเครื่องออก ซึ่งอาจใช้เวลาหลายนาทีกว่าจะหมด ระวังอย่าให้โดนน้ำมันเครื่องเพราะน้ำมันอาจยังร้อนอยู่
• หลังจากน้ำมันหยุดไหลแล้วให้ใช้ประแจถอดไส้กรองน้ำมันเครื่อง ทั้งนี้ตัวกรองเก่าอาจยังมีน้ำมันเครื่องค้างอยู่ ต้องค่อยๆ ถอดและอย่าให้น้ำมันหกหรือกระเด็นใส่ตัว
• ใส่ตัวกรองน้ำมันเครื่องอันใหม่แทนตัวเดิม ขันน็อตให้แน่นสนิท
• เปิดกระโปรงหน้ารถ เพื่อเติมน้ำมันเครื่องลงไปในช่องเติม และคอยเช็คระดับน้ำมันเครื่องด้วยก้านวัดในการเติมทุกๆ 2 ลิตร เมื่อน้ำมันเครื่องได้ระดับแล้วให้ปิดฝาให้สนิท และปิดกระโปรงรถ
• ตรวจสอบใต้ท้องรถว่าไม่มีน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกมาจากชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่ง
• ลองสตาร์ทรถดูว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่ ถ้าได้ให้ติดเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นดับเครื่องแล้วตรวจระดับน้ำมันเครื่องอีกที ถ้าลดลงให้เติมน้ำมันเครื่องเพิ่มจนได้ระดับพอดี


ข้อควรระวังในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
• อย่าถ่ายน้ำมันเครื่องขณะที่เครื่องยนต์กำลังร้อนหรือหลังจอดรถเสร็จใหม่ๆ แต่ให้จอดทิ้งไว้จนเครื่องยนต์เย็นลงก่อน
• น้ำมันเครื่องเก่าที่ถ่ายออกมา ไม่ควรทิ้งในท่อระบายน้ำหรือถังขยะทั่วไป เพราะถือเป็นสารอันตราย ก่อให้เกิดมลพิษ แต่ควรนำใส่ภาชนะแล้วไปทิ้งที่ปั๊มน้ำมัน ร้านรับถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือศูนย์รีไซเคิล


สินค้าที่ท่านสั่งซื้อประจำ
สินค้าที่ท่านเลือกดูล่าสุด