ยางมะตอยน้ำ CRS-2

Reference : P26-0001

ยางมะตอยน้ำ CRS-2 ผลิตโดยการนำยางแอสฟัลต์ซีเมนต์ มาตีให้กระจายเป็นอนุภาคเม็ดเล็ก ๆ อยู่ในน้ำรวมกับสารเคมีประเภทอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้สำหรับการทำงานพ่นลาดบาง ๆ ลงบนผิวทางเดิม

ราคา บาท ค่าจัดส่ง บาท



ยางมะตอยน้ำ CRS-2 (Cationic Rapid Setting) 

ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยน้ำชนิด Cationic Emulsified Asphalt ยางแอสฟัลต์อิมัลชั่นที่ผิวมีประจุบวก โดยมีอัตราการจับตัว (setting) หรือการระเหยออกของน้ำเร็ว (Rapid Setting) ซึ่งผลิตโดยการนำยางแอสฟัลต์ซีเมนต์ มาตีให้กระจายเป็นอนุภาคเม็ดเล็ก ๆ อยู่ในน้ำรวมกับสารเคมีประเภทอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้สำหรับการทำงานพ่นลาดบาง ๆ ลงบนผิวทางเดิม สำหรับงาน Tack coat เพื่อเป็นตัวยึดเหนี่ยวให้พื้นทางเชื่อมติดกับผิวทางที่จะสร้างทับไว้ข้างบน และพ่นลาดยางบนชั้นพื้นทางที่ทำการ Prime coat ไว้แล้ว สำหรับงาน Single Surface Treatment (ผิวทางแบบชั้นเดียว), Double Surface Treatment (ผิวทางแบบสองชั้น) ก่อนการเกลี่ยทับด้วยวัสดุหินย่อยหรือกรวดย่อย


คุณสมบัติเด่น


Specification
คุณลักษณะที่ต้องการหน่วยมาตรฐานที่กำหนด
1. ความหนืดเซย์โบลฟูรอลที่ 50 ?CSFS100-400
2. การแยกชั้น (Settlement) หลังจากเวลา 5 วัน ไม่เกิน%5.0
3. เสถียรภาพต่อการเก็บภายใน 24 ชม. ไม่เกิน%1.0
4. อัตราการรวมตัวของอนุภาคแอสฟัลต์ ไม่น้อยกว่า%40
5. ปริมาณที่ค้างบนแร่ง 850?m ( No.20) ไม่เกิน%0.1
6. ประจุของอนุภาคแอสฟัลต์บวกบวก
การกลั่นอิมัลชั่น
7. น้ำมันที่ได้จากการกลั่นเทียบกับปริมาตร ของอิมัลชั่น ไม่เกิน%3.0
8. กากไม่น้อยกว่า%65
กากที่เหลือจากการกลั่น
9. เพนิเทรชั่น (Penetration) ที่ 25 ?C น้ำหนักกด 100g. เวลา 5 วินาที0.1 mm.90-140
10. การยืดดึง (Ductility) ที่ 25 ?C อัตรา ความเร็วของเครื่องดึง 5 cm./นาที ไม่น้อยกว่าcm.40
11. การละลายในไตรคลอโรเอทิลีนไม่น้อยกว่า%97.5


มาตรฐาน
• มอก. 371-2530 แคตอิออนิกแอสฟัลต์อิมัลชั่นสำหรับถนน
• ทล.ม. 403/2531 มาตรฐานการลาดแอสฟัลต์ Tack coat
• ทล.ม. 401/2533 มาตรฐานผิวแบบเซอร์เฟสทรีทเมนต์ Surface Treatment


การนำไปใช้งาน
• งาน Tack coat เป็นการทำงานพ่นลาดบาง ๆ ลงบนผิวทางเดิม เพื่อเป็นตัวยึดเหนี่ยวให้พื้นทางเชื่อมติดกับผิวทางที่จะสร้างทับไว้ข้างบน ในอัตราส่วน 0.1-0.3 ลิตรต่อตารางเมตร (ก่อนการพ่นลาดผสมกับน้ำในอัตรา 1 : 1 )
• งาน Single Surface Treatment (ผิวทางแบบชั้นเดียว), Double Surface Treatment (ผิวทางแบบสองชั้น) เป็นการทำงานหลังจากการ Prime coat โดยการพ่นลาดยางก่ อนแล้วเกลี่ยทับด้วยวัสดุหินย่อยหรือกรวดย่อย ในอัตราส่วน 1.1-1.9 ลิตรต่อตารางเมตร


ข้อควรระวัง
• เมื่อจำเป็นต้องให้ความร้อนแก่ Asphalt Emulsion ให้ค่อย ๆ คนอย่างช้า ๆ เพื่อช่วยลดและกำจัดการเกิดหน้ายาง
• ให้ดูดยางออกจากถังเก็บทางด้านล่างของถังเก็บ เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนของหน้ายาง (ในกรณีที่มีหน้ายางในถังเก็บ)
• เมื่อมีความจำเป็นต้องเจือจาง Asphalt Emulsion ให้ตรวจสอบก่อนว่า น้ำที่จะนำมาเจือจางน้ำเข้ากันได้ดีกับ Asphalt Emulsion หรือไม่
ทำได้โดยการทดลองในปริมาณที่น้อย ๆ ก่อน
• ในการเจือจางให้เติมน้ำทีละน้อยอย่างช้า ๆ ลงใน Asphalt Emulsion (ไม่ควรเติม Asphalt Emulsion ลงในน้ำ เพราะมีความเสี่ยงที่จะผสมไม่เข้ากัน)
ในกรณีที่ต้องเก็บ Asphalt Emulsion เป็นเวลานาน ๆ ควรทำการกวน Asphalt Emulsion ในถังเก็บด้วย หรืออาจใช้วิธีการ Circulate ก็ได้
• หลีกเลี่ยงการหายใจนำไอระเหยและควันเข้าไปในร่างกาย


สินค้าที่ท่านสั่งซื้อประจำ
สินค้าที่ท่านเลือกดูล่าสุด