-
Call Us
-
Email Us
-
Global Certificate
ISO 14001:2015
- เข้าสู่ระบบ
โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์ (PMA)
Reference : P24-0010
โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์ PMA แอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติหรือยางพารา ยางสังเคราะห์ เช่น SBS EVA กับ Additive ในสัดส่วนที่พอเหมาะผิวทางที่ผสมโพลิเมอร์โมดิฟายด์แอสฟัลต์ซิเมนต์จะมีความแข็งแรงและทนทานกว่าผิวทางที่ใช้แอสฟัลต์ซิเมนต์แบบธรรมดา |
โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์ |
คือ ยางแอสฟัลต์ซีเมนต์เกรดพิเศษ ที่ได้จากการผสม ระหว่างโพลีเมอร์ (POLYMER) กับ แอสฟัลต์ซีเมนต์(ASPHALT CEMENT) รวมทั้ง Additive ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานผลิต โดยใช้เครื่องผสมที่ออกแบบ โดยเฉพาะ |
สารโพลีเมอร์อื่น เพื่อเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆตามต้องการ เช่น Tensile Strength เป็นต้น ซึ่งเมื่อนำมาผสมเป็นผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต (Hot Mix Asphalt) จะมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตทั่วไปคือมีความยืดหยุ่นที่มากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นดังกล่าวทำให้เมื่อนำมาใช้ทำผิวถนนแล้ว ทำให้ถนนมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แอสฟัลต์ซีเมนต์ธรรมดา |
คุณสมบัติเด่น |
• มีความต้านทานต่อการล้า (Fatigue resistance) ที่ดีกว่าคือ Elasticity ความยืดหยุ่นของ Polymer Modified Asphalt มีสูงมาก กล่าวคือมีค่า Tensional Recovery ที่ อุณหภูมิ 25 degC ประมาณ 80% ในขณะที่ AC 60-70 มีค่าเพียง 0-2 % ส่งผลให้ Polymer Modified Asphalt มี Flexibility สูง ช่วยแก้ปัญหาเกิดการล้า (Fatigue) ในผิวทางได้ • มีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวร (Pavement Deformation) คือ ค่า Penetration ความแข็งของ Polymer Modified Asphalt และ AC ที่อุณหภูมิ 25 degC มีค่าเท่ากัน แต่ค่า Viscosity ความหนืดของ Polymer Modified Asphalt จะสูงกว่ายาง AC 60-70 ดังนั้น Polymer Modified Asphalt จึง แข็งแรงรับน้ำหนักได้สูงกว่าและไม่เสียรูปร่างได้ง่าย • มีความยืดหยุ่นสูงที่อุณหภูมิต่ำมาก หรือสูงมาก (Temperature Susceptibility) คือการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ค่า PI สูง ทำให้ไม่เกิดการอ่อนตัวมากเมื่อ อุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลให้ไม่เกิดร่องล้อหรือเสียรูปร่างแต่ในทางกลับกันที่อุณหภูมิต่ำ Polymer Modified Asphalt ก็จะไม่แข็งเปราะจนทําให้ผิวทางเกิดการแตกร้าว • มีความต้านทานต่อการบิดตัว ระหว่างวัสดุมวลรวม กับวัสดุเชื่อมและความต้านทานต่อการหลุดลอก (Stripping resistance) ที่ดีกว่าคือ Cohesion แรงยึดเหนี่ยวใน Polymer Modified Asphalt มีสูงมาก ส่งผลให้ค่า Tensile Strength สูงตามเพราะ สามารถยึดมวลรวมได้ดีกว่าดังนั้นจึงมีค่า Toughness ไม่น้อยกว่า 200 กก. – ซม. ซึ่งสูงกว่ายาง AC60/70 มากจึงไม่เกิด ปัญหาผิวทางสึกกร่อนแบบ Raveling • ไม่มีการไหลเยิ้ม (Bleeding resistance) ของวัสดุเชื่อมประสาน คือ Softening Point จุดอ่อนตัวของยาง Polymer Modified Asphalt สูงประมาณ 88 degC ซึ่งสูงกว่า AC60/70 ซึ่ง อยู่ที่ 45-48 degC จึงทําให้โอกาสเกิดปัญหายางเยิ้มที่ผิวทางจราจรได้ยากกว่าปกติ |
การนำไปใช้งาน |
• แอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างผิวทาง (Binder Course, Wearing Course) คือให้ความร้อนยางมะตอยและหินจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องผสมตามอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ แล้วนำไปปูผิวทางตามความหนาที่ต้องการ • งานปรับระดับ (leveling) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีตไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อปรับระดับผิวทางตามระดับที่ต้องการ • งานเสริมผิว (overlay) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อเสริมผิวทางเพื่อยืดอายุการใช้งานของผิวทาง |
Specification |
คุณลักษณะที่ต้องการ | หน่วย | มาตรฐานที่กำหนด |
1. เพนิเทรชั่น (Penetration) ที่ 25 ?C น้ำหนักกด 100 g. เวลา 5 วินาที | 0.1 mm. | 55-70 |
2. Softening Point ไม่น้อยกว่า | ?C | 70 |
3. การยืดดึง (Ductility) ที่ 13 ?C อัตราความเร็วของ เครื่องดึง 5 cm./นาทีไม่น้อยกว่า | cm. | 55 |
4. Elastic Recovery @ 25 ?C ที่ระยะ 10 cm. ไม่น้อยกว่า | % | 70 |
5. Toughness & Tenacity @ 25 ?C 5.1 Toughness ไม่น้อยกว่า 5.2 Tenacity ไม่น้อยกว่า | Kg.cm. Kg.cm. | 170 100 |
6. ความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 25 ?C | g./cc. | 1.00-1.05 |
7. ความหนืดบรู๊คฟิลด์ อัตราเฉือน 18.6-1 Spindle 21 7.1 ที่อุณหภูมิ 135 ?C ไม่เกิน 7.2 ที่อุณหภูมิ 165 ?C ไม่เกิน | cP cP | 3000 1000 |
8. เสถียรภาพต่อการเก็บที่ 24 ชม. ที่อุณหภูมิ 163 ?C ค่าความ แตกต่างระหว่างส่วนบนและล่างของหลอดทดสอบไม่เกิน | ?C | 2 |
9. จุดวาบไฟไม่น้อยกว่า | ?C | 220 |
10. การละลายใน Toluene ไม่น้อยกว่า | % | 99.0 |
11. ความต้านแรงเฉือนไดนามิก G*sin76 ?C ที่ 10 องศาต่อนาที ไม่น้อยกว่า | Kpa. | 1 |
กากที่เหลือจากการอบ | ||
12. น้ำหนักสูญเสียไปเมื่อให้ความร้อนไม่เกิน | %wt | 0.5 |
13. เพนิเทรชั่น (Penetration) ที่ 25 ?C น้ำหนักกด 100 g. เวลา 5 วินาที 0.1 mm. ร้อยละของเดิมไม่น้อยกว่า | % | 70 |
14. Softening Point แตกต่างไปจากเดิมไม่เกิน | ?C | -4 ถึง 6 |
15. การยืดดึง (Ductility) ที่ 13 ?C อัตราความเร็ว ของเครื่องดึง 5 cm./นาทีไม่น้อยกว่า | cm. | 40 |
16. Elastic Recovery @ 25 ?C ที่ระยะ 10 cm. ไม่น้อยกว่า | cm. | 60 |
มาตรฐาน |
• มอก.2156/2547 โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์สำหรับงานทาง • ทล.ม.409/2549 มาตรฐานมอดิฟายด์แอสฟัลต์คอนกรีต (Modified Asphalt Concrete) |
ข้อเสนอแนะและวิธีการจัดเก็บ |
• อาจลุกติดไฟได้ง่าย ถ้าให้ความร้อนสูงเกิน • อุณหภูมิการจัดเก็บแอสฟัลต์ซีเมนต์ในถังเก็บ ไม่ควรสูงเกิน 150 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพ • ถังบรรจุต้องสะอาด แห้ง และไม่ปนเปื้อนน้ำมัน หรือน้ำ เพราะอาจทำให้คุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์เปลี่ยนไปหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้ • ระหว่างการขนถ่ายสินค้า ควรสวมหมวกนิรภัยพร้อมหน้ากากกันกระเด็น สวมเสื้อแขนยาวหรือปลอกแขนเพื่อป้องกันความร้อนให้รัดกุมและถุงมือหนัง เพื่อความปลอดภัย ในการทำงานหากมีเหตุฉุกเฉิน • กรณีลุกติดไฟ ห้ามใช้น้ำดับโดยเด็ดขาด ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผง โฟม ทราบ ดับแทน |