เสาเข็มคอนกรีต หน้า 22x22 ซม.

Reference : P06-2106

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พร้อมบริการรถตอกเสาเข็ม ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ติดตั้งรวดเร็ว ช่วยให้ผู้ประกอบการที่ใช้บริการรถตอกเสาเข็ม ประหยัดเวลาและต้นทุน ด้วยเสาเข็มคอนกรีตคุณภาพได้มาตรฐานตาม มอก. 396-2549


ราคา บาท ค่าจัดส่ง บาท



เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง 
ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ควบคุมอัตราส่วนผสมคอนกรีตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เสาเข็มมีเนื้อแน่น ผิวเรียบ แข็งแกร่งสม่ำเสมอตลอดทั้งต้น คงทนต่อการรับแรง ผลิตและออกแบบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ ทำให้ฐานรากมีความมั่นคงและแข็งแรงแก่สิ่งปลูกสร้าง ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้อยู่อาศัย



คุณสมบัติเด่นเสาเข็มคอนกรีต

• เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ เป็นเสาเข็มที่ผลิตและออกแบบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ เลขที่ มอก.396-2549
• เสาเข็มเป็นแบบภาคตัดขวางสี่เหลี่ยมจัตุรัสตัน มีทั้งประเภทมีหัวต่อและประเภทไม่มีหัวต่อ
• คอนกรีตผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ควบคุมอัตราส่วนผสมคอนกรีตด้วยเครื่องจักร และระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เสาเข็มมีเนื้อแน่น ผิวเรียบ แข็งแกร่งสม่ำเสมอตลอดทั้งต้น คงทนต่อการรับแรง
• ใช้เหล็กเสริมอัดแรง (PC-Wire) ประเภทผ่อนคลายต่ำ (Low Relaxation) ที่ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง เลขที่ มอก.95-2540
• มีระบบการจัดส่งที่รวดเร็วและเพียงพอทันกับความต้องการของลูกค้า



รายละเอียดสินค้า
ชื่อขนาด
S-B (cm.)
ชนิดเสาเข็ม (mxm)เส้นรอบรูป (cm.)พื้นที่หน้าตัด (cm.)น้ำหนัก (km./m)ความยาวสูงสุด (m.)น้ำหนักปลอดภัย (SAFE LOAD) (Tons)
S-150.15x0.15602255485-10
S-180.18x0.18723247885-10
S-220.22x0.22884841161215-20
S-260.26x0.261046761621520-30
S-300.30x0.301209002161730-40
S-350.35x0.351401,2252791730-40
S-400.40x0.401601,6003841730-40
หมายเหตุ
1. น้ำหนักบรรทุกปลอดภัยตามแนวแกนของเสาเข็มขึ้นอยู่กับความยาวของเสาเข็มและความสามารถของดินที่จะรับน้ำหนักบรรทุกได้
2. สามารถสั่งผลิตสินค้าได้นอกเหนือจากที่ระบุ SPEC ไว้ในตาราง



พร้อมบริการรถตอกเสาเข็ม
ช่วยให้ผู้ประกอบการที่ใช้บริการรถตอกเสาเข็ม ประหยัดเวลาและต้นทุน ด้วยบริการรถตอกเสาเข็ม 2 ประเภท  คือ รถตอกเสาเข็มแบบสิบล้อยาง และ รถตอกเสาเข็มแบบตีนตะขาบ




มั่นใจวัตถุดิบและการผลิตที่ “มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน”

วัตถุดิบในการผลิตผ่านการตรวจสอบคุณภาพตรงตามมาตรฐาน มอก. และคุณภาพที่กำหนด วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ได้รับการคัดสรรอย่างดีมีคุณภาพผ่านการตรวจสอบ ผลิตและออกแบบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีวิศวกรค่อยควบคุมดูแลการผลิตในทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด ทั้งการดึงลวด การใช้คอนกรีตสด การบ่ม และการทดสอบคุณภาพ พร้อมนำส่งถึงหน้างานลูกค้าด้วยความระมัดระวัง มีรถขนส่งที่ทันสมัยจัดส่งอย่างปลอดภัยและรวดเร็ว


ผลิตตามมาตรฐาน
• เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จเป็นเสาเข็มที่ผลิตและออกแบบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ เลขที่ มอก.396-2549 เสาเข็มเป็นแบบภาคตัดขวางสี่เหลี่ยมจัตุรัสตัน มีทั้งประเภทมีหัวต่อและประเภทไม่มีหัวต่อ


ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ
• เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จที่ทำการผลิตมี 7 ขนาด ได้แก่ ขนาด S-150X150 , S-180X180 , S-220X220 , S-260X260 , S-300X300 , S-350X350 และ S-400X400


ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย
• คอนกรีตผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ควบคุมอัตราส่วนผสมคอนกรีตด้วยเครื่องจักร และระบบคอมพิวเตอร์ทำให้เสาเข็มมีเนื้อแน่น ผิวเรียบ แข็งแกร่งสม่ำเสมอ ตลอดทั้งต้น คงทนต่อการรับแรง


จัดเก็บอย่างดี
• เสาเข็มทุกต้นผ่านการบ่มชื้นด้วยอากาศไม่น้อยกว่า 24 ชม. สำหรับในแท่นแบบหล่อ และทำการบ่มในกองสต็อกสินค้าไม่ต่ำกว่า 7 วัน ก่อนส่งมอบลูกค้าเพื่อให้ มั่นใจ ในคุณภาพของเสาเข็ม


ผ่านการทดสอบคุณภาพ
• คอนกรีตมีค่าความต้านทานแรงอัดสูงสุดที่อายุ 28 วัน (Minimum ultimate compressive strength at 28 days) ไม่น้อยกว่า 350 เมื่อทดสอบด้วยแท่งคอนกรีตรูปทรงกระบอกมาตรฐาน (Cylinder) หรือไม่น้อยกว่า 400 ksc. เมื่อทดสอบด้วยแท่งคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์มาตรฐาน (Cube)
 


หินคุณภาพ 
• ใช้หินที่ผลิตจาก บริษัท ผาทองทุ่งสง สะอาดและมีค่าสัดส่วนขนาดคละมี GRADATION ตามมาตรฐาน ASTM C 33 หินที่ใช้เป็นส่วนผสม มีขนาดเม็ดใหญ่ สุด 20 มม. ทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่งสม่ำเสมอทั้งต้น


ทรายแม่น้ำคุณภาพ
• ใช้ทรายหยาบ เป็นทรายแม่น้ำ สะอาดและมีค่าสัดส่วนขนาดคละเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมวลผสมคอนกรีต เลขที่ มอก.566-2528 และASTM-C33 เป็นส่วนผสมของคอนกรีต มีค่าโมดูลัสความละเอียดของทราย อยู่ในช่วง 2.8-3.1


ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพ
• ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ที่ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก.15 เล่ม 1 ของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด (ทุ่งสง) ใช้คอนกรีตจาก โรงงานคอนกรีตผาทอง ผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีคุณภาพ ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย


ใช้เหล็กกล้าคุณภาพ
• ใช้เหล็กเสริมอัดแรง (PC-Wire) ประเภทผ่อนคลายต่ำ (Low Relaxation) ที่ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรงเลขที่ มอก.95-2540  ของ บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด


เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ
ข้อมูลกำหนด (Specification) ของการออกแบบเสาเข็ม ตามหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้มีดังนี้
1. ออกแบบตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม มอก.396-2549
2. ออกแบบตามมาตรฐาน กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
3. ออกแบบตามมาตรฐาน กรมโยธาธิการ
4. ออกแบบตามมาตรฐาน กรมชลประทาน
5. ออกแบบตามมาตรฐาน กรุงเทพมหานคร
6. ออกแบบตามมาตรฐาน บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา



ผลิตภัณฑ์เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ
ทำการตรวจสอบ ทดสอบคุณภาพเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จเป็นไปตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 โดยจะทำการทดสอบทุกวันที่ทำการผลิตดังต่อไปนี้



ความต้านแรงอัดสูงสุงของคอนกรีต ( Ultimate Compressive Strength of Concrete (fc’) )
กำลังอัดคอนกรีต หมายถึง ความสามารถของคอนกรีตที่จะรับแรงอัดที่ประลัยได้ เมื่อคอนกรีตอายุ 28 วัน

รูปทรงกระบอกมาตรฐาน (Cylinder)
แท่งคอนกรีตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 cm. สูง 30 cm. แบบมาตรฐานอเมริกา

ในเมืองไทยใช้มาตรฐานทางฝั่งอเมริกา แต่การอ้างอิงกำลังรับแรงอัด มักจะใช้ทั้ง 2 ระบบ คือ อเมริกา (Cylinder : ทรงกระบอก) และ อังกฤษ (Cube : ลูกบาศก์)

รูปทรงลูกบาศก์มาตรฐาน (Cube)
แท่งคอนกรีตที่มีรูปลูกบาศก์ขนาดยาวด้านละ 15 cm. แบบมาตรฐานอังกฤษ


กำลังอัดของทั้ง 2 รูปทรงให้ค่ากำลังอัดที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้ส่วนผสมคอนกรีตเดียวกัน เนื่องจาก
1 องค์ประกอบเรื่องความชะลูดของรูปทรง ทรงกระบอกจะมีสัดส่วนความชะลูด (ความสูงต่อความกว้าง) มากกว่ารูปทรงลูกบาศก์อัตราส่วนความชะลูดที่มากกว่านี้จะทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักน้อยกว่ารูปทรงลูกบาศก์
2 ขณะที่กดก้อนตัวอย่างนั้น ก้อนตัวอย่างจะแตกออกด้านข้างทำให้แรงเสียดทานระหว่างผิวของก้อนตัวอย่างกับแผ่นรองกด แรงเสียทานนี้จะก่อให้เกิดแรงต้านทานต่อการแตกด้านข้างของก้อนตัวอย่างที่เรียกว่า Confining stress ซึ่งค่า Confining stress จะมีค่ามากถ้าผิวสัมผัสของก้อนตัวอย่างกับเครื่องกดมีค่ามาก ดังนั้นผลทดสอบกำลังอัดรูปทรงลูกบาศก์จึงให้ค่าสูงกว่ารูปทรงกระบอก


ผลการทดสอบคอนกรีตรูปทรงรูปทรงกระบอกและรูปทรงลูกบาศก์ให้กำลังอัด (ความเค้น) ต่างกัน กำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกจะมี ความเค้นอัดสูงสุดน้อยกว่า รูปทรงลูกบาศก์ อยู่ที่ 13% หรือประมาณ 50 กก./ตร.ซม. (ksc.)
• คอนกรีตมีค่าความต้านแรงอัดก่อนตัดลวด ไม่น้อยกว่า 25 เมกะพาสคัล หรือ 250 ksc. เมื่อทดสอบด้วยแท่งคอนกรีตรูปทรงกระบอกมาตรฐาน
• คอนกรีตมีค่าความต้านแรงอัดสูงสุดที่ อายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า 35 เมกะพาสคัล หรือ 350 ksc. เมื่อทดสอบด้วยแท่งคอนกรีตรูปทรงกระบอกมาตรฐาน

ตรวจสอบโครงสร้าง
• เนื้อคอนกรีตต้องแน่นสม่ำเสมอ ผิวเรียบ ไม่มีรอยพรุน ไม่สียรูป ไม่มีรอยร้าว สภาพโครงสร้างของเสาข็มอยู่ในแบบที่สมบรูณ์ เสาเข็มตรงตลอดทั้งต้น
ไม่โก่งตัวขึ้น ไม่แอ่นตัวลง หรือไม่งอ ตามมาตรฐานที่กำหนด



การทดสอบเสาเข็ม (Pile Testing)

การทดสอบเสาเข็ม (Pile Testing) สามารถทำได้ส่วนใหญ่ 3 วิธี คือ

1. Seismic Test การทดสอบเสาเข็มโดยวิธี Seismic Test เป็นการทดสอบเพื่อประเมินสภาพความสมบูรณ์ตลอดความยาวของเสาเข็ม การทดสอบวิธีนี้เป็นการการทดสอบที่สะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายตํ่า จึงเป็นที่นิยมใช้ในการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มในขั้นต้น การทดสอบนี้สามารถดําเนินการได้ทั้งใน เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง และเสาเข็มเจาะหล่อกับที่ โดยทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มตามมาตรฐาน ASTM D5882-07

ซึ่งผลการทดสอบโดยวิธี Seismic Test นั้นจะระบุถึงข้อบกพร่องต่างๆ เช่น รอยแตกร้าว โพรงหรือช่องว่าง รอยคอด หรือบวมของเสาเข็ม

2. Dynamic load Test การทดสอบเสาเข็มโดยวิธี Dynamic load Test จะสามารถตรวจสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็มเบื้องต้น หากําลังรับนํ้าหนักบรรทุกของเสาเข็ม การกระจายหน่วยแรงเสียดทานของเสาเข็ม กําลังรับนํ้าหนักบรรทุกที่ปลายเข็ม ความสัมพันธ์ระหว่างการนํ้าหนักบรรทุกและการทรุดตัว ค่าหน่วยแรงเค้นอัดและแรงเค้นดึงที่เกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ และทราบถึงประสิทธิภาพของปั้นจั่นตอกเสาเข็ม

การทดสอบเสาเข็มโดยวิธี Dynamic Pile Test นั้น สามารถทำการทดสอบได้ 3 ลักษณะตามช่วงเวลาการทดสอบ ดังนี้

-Initial Driving Test (IDT) เป็นการทดสอบระหว่างการตอกเสาเข็ม
-End of Driving Test (EDT) เป็นการทดสอบทันทีเมื่อตอกเสาเข็มถึงระดับปลายเสาเข็มที่กำหนดค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ได้นี้จะต่ำเนื่องจากดินรอบเสาเข็มยังไม่คืนสภาพ
-Restrike Driving Test (RDT) เป็นการทดสอบหลังการตอกเสาเข็มแล้วเสร็จ (โดยทั่วไปไม่น้อยกว่า 7 วัน)

3. Static load Test การทดสอบเสาเข็มโดยวิธี Static load Test เป็นการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจริง โดยใช้น้ำหนักทดสอบกระทำกับเสาเข็ม และตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเสาเข็มเปรียบเทียบกับค่าการเคลื่อนตัวที่ยอมให้

การทดสอบเสาเข็มโดยวิธี Static load Test สามารถทำได้ 2 แบบ ดังนี้

-Static load Pile Test แบบเสาเข็มสมอ (Anchor Pile)
-Static load Test แบบวัสดุถ่วง โดยในการทดสอบจะเพิ่มน้ำหนักเป็นช่วงๆ พร้อมกับวัดค่าการเคลื่อนตัวของเสาเข็ม


ผลิตภัณฑ์เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ
เสาเข็มทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงของสิ่งก่อสร้างที่ต้องการ ความมั่นคง แข็งแรงของอาคาร หรือโครงสร้างต่างๆ โดยเสาเข็มจะออกแบบให้รับน้ำหนักจากฐานรากและถ่ายลงสู่ชั้นดิน โดยออกแบบให้รับแรงกด แรงดึง และแรงดันดินด้านข้าง สำหรับเสาเข็มที่ผลิตโดย ผาทองกรุ๊ป นั้นได้รับรองมาตรฐาน และมั่นใจได้ในคุณภาพของเสาเข็มแต่ละต้น เสาเข็มผาทอง แกร่ง ผิวเรียบ รูปเหลี่ยมคมชัดเจน ได้รูป เวลาใช้ตอกหัวจะไม่แตก


พร้อมบริการรถตอกเสาเข็ม
ช่วยให้ผู้ประกอบการที่ใช้บริการรถตอกเสาเข็ม ประหยัดเวลาและต้นทุน ซึ่งมีบริการรถตอกเสาเข็ม 2 ประเภท  คือ รถตอกเสาเข็มแบบสิบล้อยาง และ รถตอกเสาเข็มแบบตีนตะขาบ

ขั้นตอนการตอกเสาเข็ม

ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมการก่อนตอกเสาเข็ม

• ศึกษาแบบแปลน และผังโครงการ
• วางแผนการตอกเสาเข็ม (Piling Sequence)
• จัดเตรียมแบบฟอร์มที่ใช้ในการตอกเข็ม (Daily piling record/Pile driving record)
• กำหนดวิธีการตอกเสาเข็ม (Pile load test)
• ทำ Pilot test pile โดยจำนวน Pilot pile คิดตามสัดส่วนของพื้นที่โครงการ
• จัดทำเอกสารรายการคำนวณเสาเข็ม และ รายการคำนวณ Blow count

ขั้นตอนที่ 2: ตอกเสาเข็มทดสอบ (Pilot Pile Test)
• วางผังโครงการตามพิกัดค่า Coordinate ที่แบบแปลนกำหนด โดยอ้างอิงจากหมุด BM เดิม (from existing building )
• ตรวจสอบตำแหน่งเสาเข็มอ้างอิงตามค่า Coordinate ของโครงการและแบบแปลนที่จัดทำขึ้นโดย Designer (Recheck By Consultant)
• ทำการตอกเสาเข็มตัวอย่าง (Pilot test pile) เพื่อหาขนาด และ ความยาวของเสาเข็ม และเสนอขออนุมัติจากเจ้าของ (Owner) โครงการ
• เมื่อ Owner อนุมัติขนาดความยาวพร้อมรายการคำนวณ Blow count ของเสาเข็มเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มดำเนินการตอกเสาเข็มได้

ขั้นตอนที่ 3: ดำเนินการตอกเสาเข็ม
• กำหนดจุด Start ของงานตอกเสาเข็มต้นแรกและเส้นทางการเดินปั้นจั่น (Piling Sequence)
• เมื่อ Survey วางหมุดเสร็จแล้ว Foreman Recheck ต้องตรวจสอบระยะก่อนว่าถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนจากแบบแปลนหรือไม่
• ก่อนที่ปั้นจั่นจะยกเสาเข็มขึ้นตอกให้ ทำ off set ตำแหน่งของเข็ม ทั้ง 2 แกน ก่อนยกเสาเข็มขึ้นและ Recheck off set โดย Foreman อีกครั้งเพื่อให้เข็มได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
• ก่อนทำการ Check ดิ่ง ควรตอกเข็มให้จมลงไปก่อน ประมาณ 30 – 50 cm. แล้ว Recheck off set อีกครั้งว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ แล้วทำการ Check ดิ่ง โดย Foreman ต้องตรวจสอบด้วยเสมอ ซึ่งการตรวจสอบต้องตรวจสอบทั้ง 2 แกน คือ ด้านหน้าและด้านข้าง โดยค่าการดิ่งไม่ควรเกิน 1 : 500 หรือ 0.1%
• ก่อนตอกเสาเข็ม Foreman ต้องตรวจสอบน้ำหนักของตุ้มตอก และระยะยกของลูกตุ้มให้ได้ตามที่คำนวณไว้

ขั้นตอนที่ 4: การ Check Blow Count
Mark ระยะที่ส่วนปลายของเสาเข็มแต่ละต้นเป็นช่วงๆละ 30 cm. จำนวน 10 ช่วง หรือประมาณ 3 เมตร สุดท้าย
• ตอกเสาเข็มจนถึงตำแหน่งที่ Mark ไว้ (3 m.) เริ่มทำการนับจำนวน Blow ในแต่ละช่วง (30 cm.) ทำการบันทึกค่าไว้ของแต่ละช่วงว่าได้ Blow เท่าไหร่ จนกระทั่งถึงช่วงๆหนึ่ง จำนวน Blow จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ระยะที่เสาเข็มจมลงน้อยมาก จึงทำการนับ Blow ที่ตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow) แล้ววัดระยะที่เสาเข็มจมลงในการตอก 10 ครั้งสุดท้าย แล้วบันทึกค่าไว้ (ทำ 2 ครั้ง) (Last ten Blow ต้องไม่เกินจากค่าที่คำนวณไว้)
• Foreman recheck ทิศทางการเยื้องศูนย์ของเข็ม บันทึกการเยื้องศูนย์

Tip : การควบคุมงานตอกเสาเข็ม
• Foreman ควรดูแลและควบคุมอย่างไกล้ชิด กรณีเข็มหัก หัวระเบิด หรือ มีสิ่งผิดปกติให้แจ้ง Engineer ทราบทันที
• ปั้นจั่นที่ใช้ในการตอกเสาเข็มต้องอยู่ในสภาพที่แข็งแรง ตะเกียบต้องตรงไม่บิดเบี้ยว
• ตุ้มที่ใช้ในการตอกเสาเข็มต้องมีน้ำหนักตามที่คำนวณ (น้ำหนักตุ้มควรอยู่ระหว่าง 0.7-2.5 เท่า ของ น้ำหนักเสาเข็ม)
• การยกตุ้มและปล่อยตุ้มของปั้นจั่นต้องได้ระยะตามที่คำนวณไว้
• ต้องตรวจสอบเสาเข็มให้อยู่แนวดิ่งตลอดการตอก
• ระยะหนีศูนย์ของเสาเข็มในแนวราบไม่ควรเกิน 5 ซม
• ระยะหนีศูนย์ของเสาเข็มในแนวดิ่งไม่ควรเกิน 0.1% ของความยาวเข็ม


วิดีโอจาก สำนักมาตรฐานและประเมินผล กรมทางหลวง 

(ขอขอบคุณคลิปวิดีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=5DoHF3YLgCo&feature=emb_title)

สินค้าที่ท่านสั่งซื้อประจำ
สินค้าที่ท่านเลือกดูล่าสุด