-
Call Us
-
Email Us
-
Global Certificate
ISO 14001:2015
- เข้าสู่ระบบ
ยางมะตอย Joint Sealer
Reference : P24-0006
ผลิตภัณฑ์ยางมะตอย Joint Sealer วัสดุยารอยต่อคอนกรีตแลลยืดหยุ่นชนิดเทร้อน ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่ผสม ระหว่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ (ASPHALT CEMENT) กับ โพลีเมอร์ (POLYMER) ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานผลิต โดยใช้เครื่องผสมที่ออกแบบโดยเฉพาะ |
Joint Sealer |
ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่ผสม ระหว่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ (ASPHALT CEMENT) กับ โพลีเมอร์ (POLYMER) ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานผลิต โดยใช้เครื่องผสมที่ออกแบบโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มความทนทานในการใช้งานที่อุณหภูมิสูงและเพิ่มการยึดเกาะสำหรับวัสดุคอนกรีต เหมาะสำหรับยาแนวเพื่อป้องกันการแทรกซึมของน้ำหรือความชื้นและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ รวมทั้งยังป้องกันการแตกร้าวของผิวคอนกรีตที่เกิดจากการหดและขยายตัว |
คุณสมบัติเด่น |
• ยืดหยุ่นตัวได้ดีตามการยืด และ ขยายตัวของคอนกรีต คือผลิตภัณฑ์มีความยืดหยุ่นสูงที่อุณหภูมิต่ำมาก หรือสูงมาก (Temperature Susceptibility) คือการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ค่า PI สูง ทำให้ไม่เกิดการอ่อนตัวมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น • ยึดเกาะผนังร่องคอนกรีตได้ดี คือ Cohesion แรงยึดเหนี่ยวใน Joint Sealer มีสูงมาก ส่งผลให้สามารถยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี • ไม่ไหลเยิ้มขณะแดดร้อน(Bleeding resistance) คือ Softening Point จุดอ่อนตัวของยาง Joint Sealer สูงประมาณ 88 ?C ซึ่งสูงกว่า AC 60-70 ซึ่ง อยู่ที่ 45-48 ?C จึงทําให้โอกาสเกิดปัญหายางเยิ้มที่ผิวทางจราจรได้ยากกว่าปกติ |
การนำไปใช้งาน |
งานหยอดรอยต่อคอนกรีตหรืองานอุดซ่อมรอยแตกในถนนคอนกรีต โดยการให้ความร้อนแก่ Joint Sealer ตามที่กำหนด (140-180 ?C) แล้วเทวัสดุลงในรอยต่อหรือรอยแตกคอนกรีตแล้วปล่อยให้เย็น |
Specification |
คุณลักษณะที่ต้องการ | หน่วย | มาตรฐานที่กำหนด |
1. เพนิเทรชัน ที่ 25 ?C ,น้ำหนักกด150 กรัม , เวลา 5 วินาทีไม่มากกว่า | 0.1 mm. | 90 |
2. อุณหภูมิที่ปลอดภัย | ?C | - |
3. จุดไหลเท ต้องต่ำกว่าอุณหภูมิปลอดภัยอย่างน้อย | ?C | 11 |
4. การไหล (Flow) ที่ 60 ?C ไม่เกิน | mm. | 5 |
5. การยึดเหนี่ยว (Bonding)ต้องไม่เกิดรอยร้าว(Cracking) หรือการแยกตัว (Separation) หรือร่อง (Opening) อย่างใดอย่างหนึ่ง ลึกเกิน ณ จุดใดจุดหนึ่งในชิ้นทดสอบ หรือระหว่างชิ้นทดสอบกับ มอร์ตาร์บล็อกในระหว่างการทดสอบ | mm. | 6.4 |
มาตรฐาน |
• มอก. 479/2541 วัสดุยารอยต่อคอนกรีตแบบยืดหยุ่นชนิดเทร้อน • ทล.ม. 328/2544 มาตรฐานการซ่อมรอยแยกตัวระหว่างไหล่ทางกับผิวทาง คอนกรีตด้วยวัสดุยารอยต่อคอนกรีตแบบยืดหยุ่นชนิดเทร้อน |
ข้อเสนอแนะและวิธีการจัดเก็บ |
• อาจลุกติดไฟได้ง่าย ถ้าให้ความร้อนสูงเกิน • ในขณะหลอมเหลววัสดุยารอยต่อ อย่าให้น้ำเข้าไปสัมผัสได้ • ควรสวมหมวกนิรภัยพร้อมหน้ากากกันกระเด็น สวมเสื้อแขนยาวหรือปลอกแขนเพื่อป้องกันความร้อนให้รัดกุมและถุงมือหนัง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานหากมีเหตุฉุกเฉิน • กรณีลุกติดไฟ ห้ามใช้น้ำดับโดยเด็ดขาด ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผง โฟม ทราบ ดับแทน • ขณะให้ความร้อนเพื่อหลอมเหลว ต้องทำการกวนตลอดเวลาขณะต้ม • ระวังอย่าให้วัสดุยารอยต่อที่หลอมเหลวมีอุณหภูมิสูงเกิน 180 องศาเซลเซียส ยางจะไหม้ |