ทรายบรรจุกระสอบ

Reference : P02-0004

ทรายบรรจุกระสอบ เป็นทรายแม่น้ำธรรมชาติ ผ่านกระบวนการล้างสะอาดพร้อมผ่านตะแกรงคัดเกรดอย่างดี และผ่านการทดสอบจากแผนกควบคุมคุณภาพ มีค่า FM 2.8-31 ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%

ราคา บาท ค่าจัดส่ง บาท



ทรายบรรจุกระสอบ สะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้งาน
ปริมาณที่แน่นอน สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและกองเก็บ นำไปใช้งานก่อสร้างได้หลายประเภท บรรจุใส่กระสอบและจัดวางในพาเลทอย่างเป็นระเบียบ ป้องกันการชำรุดระหว่างการขนส่ง อีกทั้งยังสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้งาน ทรายบรรจุสอบ มีน้ำหนักกระสอบละ 30 กิโลกรัม



ทรายบรรจุกระสอบ “เป็นทรายแม่น้ำ” คัดคุณภาพมาอย่างดี
สะอาดได้มาตรฐาน ผ่านกระบวนการทำความสะอาด ปราศจากสารอินทรีย์หรือวัตถุเจือปน ค่าสัดส่วนขนาดคละของทรายแต่ละขนาดตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมวลผสมคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C33 ผ่านกระบวนการทำความสะอาดคัดแยกวัตถุเจือปน และตรวจสอบคุณภาพ มีค่า FM 2.8-31 ค่าความชื้น ไม่เกิน 6% ก่อนบรรจุลงกระสอบ



คุณสมบัติเด่นทรายบรรจุกระสอบ
• ใช้งานกับงานก่อสร้างได้หลายประเภท ใช้งานสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย
• บรรจุใส่กระสอบและจัดวางในพาเลทอย่างเป็นระเบียบ ปริมาณที่แน่นอน สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและกองเก็บ ป้องกันการชำรุดระหว่างการขนส่ง อีกทั้งยังสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย
• มีกระบวนการบรรจุหินใส่กระสอบด้วยเครื่องจักรที่สมัย ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมจำหน่าย
• หินบรรจุกระสอบเคลื่อนย้ายจัดเก็บไว้ในกองสต็อกเพียงพอต่อความต้องการ
คัดสรรวัตถุดิบอย่างดี
• เป็นทรายแม่น้ำ สะอาดและมีค่าสัดส่วนขนาดคละเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมวลผสมคอนกรีต เลขที่ มอก.566-2528 และ ASTM-C33


บรรจุใส่ในโรงงานคุณภาพ
• คัดสรรวัตถุดิบมีคุณภาพ บรรจุใส่กระสอบภายในโรงงานที่มีคุณภาพ ด้วยเครื่องจักรที่สมัย ควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จัดเย็บปากกระสอบอย่างเรียบร้อง ไม่มีปัญหาการหลุด ลุ่ยเกิดการหกรั่วไหลแน่นอน 


ปริมาณแน่นอน
• ทรายทุกๆ กระสอบได้รับการตรวจสอบจากแผนกควบคุมคุณภาพบรรจุภัณฑ์ ตรวจสอบน้ำหนัก โดยเครื่องจักรที่มีคุณภาพ แม่นยำได้มาตรฐาน


ระบบการจัดเก็บที่ดี
• จัดวางบนพาเลต หุ้มด้วยพลาติกยืด เพื่อความสะอาด สะดวกในการจัดวาง และจัดเก็บไว้ในกองสต็อกอย่างเป็นระเบียบสะดวกในการดูแลรักษา วางในพื้นที่ร่มไม่โดนฝนหรือแดด พร้อมจำหน่ายและเพียงพอต่อความต้องการ  


ผลิตภัณฑ์ทรายบรรจุกระสอบ
มีการทำการตรวจสอบทดสอบคุณภาพ โดยทีม QC ดังต่อไปนี้ แบ่งตัวอย่างเพื่อการทดสอบ เพื่อแบ่งตัวอย่างวัสดุมาทำการทดสอบ โดยให้ตัวอย่างที่แบ่งได้เป็นตัวแทนของวัสดุเดิมที่ยังไม่ได้ทำการแบ่ง


1.1 เครื่องมือ
1.1.1 เครื่องแบ่งตัวอย่างมวลรวมละเอียด (Fine Aggregate) ซึ่งมีจำนวนช่องสำหรับแบ่งตัวอย่างไม่น้อยกว่า 12 ช่อง แต่ละช่องกว้าง 1/2 นิ้ว หรือ 1 นิ้ว



1.1.2 เครื่องแบ่งตัวอย่างมวลรวมหยาบ (Coarse Aggregate) ซึ่งสามารถปรับจำนวนช่องแบ่งและความกว้างของช่องได้ดังนี้


จำนวนช่องแบ่งความกว้างช่องแบ่ง (นิ้ว)
161
81.5
62
43
34
26


1.1.3 เครื่องชั่งที่สามารถชั่งได้ละเอียดถึงร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักตัวอย่างทั้งหมด
1.1.4 เครื่องมือแบ่งตัวอย่าง(sample splitter) ขนาดต่างๆ
1.1.5 แปรงทำความสะอาดตะแกรงชนิดลวดทองเหลือง แปรงขนและแปรงพลาสติก
1.1.6 เตาอบที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ที่ 110?5 องศาเซลเซียส

ตารางน้ำหนักของตัวอย่างที่ใช้ในการคัดขนาด

1.2 การเตรียมตัวอย่าง
  1.2.1 นำตัวอย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากันและแยกด้วยวิธีแบ่งสี่ หรือใช้เครื่องมือแบ่งตัวอย่างในขณะที่ตัวอย่างมีความชื้น เพื่อลดการแยกตัว
ถ้าตัวอย่างไม่มีส่วนละเอียดอาจจะแบ่งขณะที่ ตัวอย่างแห้งอยู่ก็ได้ ประมาณให้ได้น้ำหนักตัวอย่างเมื่อแห้งแล้วตามตารางดังนี้


ขนาดตะแกรงร่อน/มิลลิเมตรส่วนที่ผ่านตะแกรง/ร้อยละโดยน้ำหนักน้ำหนักตัวอย่างต่ำสุด/กิโลกรัม
4.7590 ถึง 1000.5
9.590 ถึง 1001.0
12.590 ถึง 1002.0
19.090 ถึง 1005.0
25.090 ถึง 10010.0
38.190 ถึง 10015.0
50.090 ถึง 10020.0
63.090 ถึง 10025.0
75.090 ถึง 10030.0
90.090 ถึง 10035.0


1.3 วิธีคัดขนาด
  1.3.1 ถ้ามีส่วนละเอียดจับเป็นก้อนใหญ่หรือมีส่วนละเอียดจับกันเองเป็นก้อน ต้องทำให้ส่วนละเอียดหลุดออกจากก้อนใหญ่หรือส่วนละเอียดที่จับกันเป็นก้อนแตกให้หมดตากหรืออบ ตัวอย่างให้ผิวแห้งที่อุณภูมิ 110?5 องศาเซลเซียส

  1.3.2 นำตัวอย่างไปเขย่าในตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ ตามต้องการ การเขย่านี้ต้องให้ตะแกรงร่อนเคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งรวมทั้งมีแรงกระแทกขณะเขย่าด้วย เขย่านานจนกระทั่งตัวอย่างผ่านตะแกรงร่อนนั้น หรือใช่เวลาเขย่าทั้งหมดประมาณ 15 นาที เมื่อเขย่าเสร็จแล้ว
       * ในกรณีที่เป็นมวลผสมหยาบ ต้องไม่มีก้อนตัวอย่างซ้อนกันในตะแกรง
       * ในกรณที่เป็นมวลผสมละเอียด ต้องไม่มีตัวอย่างค้างตะแกรงร่อนเกิน 0.6 กรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือเกิน 200 กรัมต่อตะแกรงร่อนขนาด 20.5 เซนติเมตร
       * ถ้าตัวอย่างค้างตะแกรงร่อนเกินกว่าที่กำหนด ให้แบ่งตัวอย่างทดสอบ 2 ครั้งหรือเพิ่มตะแกรงร่อนขนาดใหญ่กว่าตะแกรงร่อนที่ค้างเกินเข้าไปอีกขนาดหนึ่ง นำตัวอย่างที่ค้างตะแกรงร่อนแต่ละขนาดไปชั่ง
1.4 วิธีการคำนวณ
ส่วนที่ผ่านตะแกรงร่อน ร้อยละโดยน้ำหนัก =R/T x100 เมื่อ R คือ น้ำหนักตัวอย่างที่ผ่านตะแกรงร่อนแต่ละขนาด เป็นกิโลกรัม

      T คือ น้ำหนักตัวอย่างทั้งหมด เป็นกิโลกรัม
  1.5 การรายงานผลรายงานผลส่วนที่ผ่านตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เป็นร้อยละโดยน้ำหนัก ทศนิยม 1 ตำแหน่ง

      หมายเหตุ การแบ่งตัวอย่างด้วยเครื่องแบ่งตัวอย่าง ต้องใช้เครื่องมือขนาดช่องกว้างประมาณหนึ่งเท่าครึ่งของก้อนโตที่สุด

2. มีการทดสอบค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity,Absorption) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี
3. มีการทดสอบหน่วยน้ำหนักและช่องว่างในมวลรวม (Unit Weight)  ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี
4. มีการทดสอบดัชนีความแบน (Flakiness Index) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปีละเอียดกว่า
5. มีการทดสอบดัชนีความยาว (Elongation Index) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี
6. มีการทดสอบความต้านทานการสึกร่อนของหินโดยเครื่องลอสแองเจลิส (Abrasion Test by Los Angeles Machine) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี
การนำไปใช้งาน
• นำไปใช้กับงานก่อสร้างเล็กๆ น้อยๆ เช่น ทำฐานศาลพระภูมิ ฐานเสาธง ทำอ่างเลี้ยงปลาขนาดเล็ก หรือสวนหย่อม
• สำหรับการต่อเติมงานก่อสร้างต่างๆ ที่ปริมาณงานไม่มาก เช่น อ่างล้างจาน เคาเตอร์ครัว หรือเทพื้นลานซักล้าง
• ในสถานที่ ที่ทำการจัดกองไม่สะดวก ทำให้สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้มาก เช่นงานต่อเติมอาคารในเมือง
• การก่อสร้างในที่สูงชัน เช่น ทำบ้านบนที่สูง ต่อเติมบ้านชั้นบนตึกสูง หรือทำบ้านบนเชิงเขาทำงานคอนกรีตเล็กน้อย หรือการต่อเติม
• สามารถใช้ทั้งงานผสมคอนกรีต หรืองานปรับสภาพพื้นได้
• กรณีใช้ไม่หมด สามารถพับปากถุงเก็บไว้ใช้งานได้ต่อไป


คำแนะนำในการใช้งาน








สินค้าที่ท่านสั่งซื้อประจำ
สินค้าที่ท่านเลือกดูล่าสุด